เมื่อ Context เปลี่ยน ความหมายเปลี่ยนกับคำถาม “ใช้ AI เขียนโค้ด ไม่ต้องเข้าใจก็ได้!?” | Practical Byte - LearnAlgorithm
Practical Byte March 19, 2025
|
3 mins read

เมื่อ Context เปลี่ยน ความหมายเปลี่ยนกับคำถาม “ใช้ AI เขียนโค้ด ไม่ต้องเข้าใจก็ได้!?”

ไม่ต้องรู้ว่าโค้ดบรรทัดที่ AI เสกมาให้ทำงานยังไง ขอให้ทำงานได้ก็พอ จริงหรือ!?

เมื่อ Context เปลี่ยน ความหมายเปลี่ยนกับคำถาม “ใช้ AI เขียนโค้ด ไม่ต้องเข้าใจก็ได้!?”

“ถ้าเกิดว่าคุณพิมพ์ 555 ส่งให้คนไทย 🇹🇭 คนไทยจะคิดว่าคุณหัวเราะอยู่ แต่ถ้าคุณพิมพ์ 555 ส่งให้คนจีน 🇨🇳 คนจีนจะคิดว่าคุณกำลังร้องให้”

5 ในภาษาจีนใช้คำว่า 五 (ออกเสียงว่า wǔ) พอพิมพ์ติดกันเลยเป็นคำว่า wuwuwu ใช้เป็นเสียงที่ represent การร้องให้

จะเห็นได้ว่า “คำเดียวกัน ต่างกันแค่ส่งให้ใครอ่าน (context) แต่ความหมายนั้นเปลี่ยนไปแบบคนละด้านเลย”

พอดีช่วงนี้ผ่านมาเราไปเที่ยวจีนมา กลับมาเปิด fb ก็เจอดราม่า AI เต็มเฟส 😆 โพสนี้เราเลยอยากจะมาแชร์ความคิดเห็นสั้น ๆ กับประโยคที่ว่า “ไม่ต้องรู้ว่าโค้ดบรรทัดนั้นที่ AI เสกมาให้ทำงานยังไง ขอให้ทำงานได้ก็พอ” กับเรื่องของ context นิดหน่อย

เช่นเดียวกับตัวอย่างภาษาจีนที่ยกไปก่อนหน้า ประโยคดังกล่าวคำตอบจะเป็นยังไงมันขึ้นอยู่กับว่าเราอยู่ใน demographic ไหน หรือกำลังทำอะไร

ถ้าเราอยากจะทำ prototype อะไรสักอย่างขึ้นมาเพื่อทดสอบ idea ทางธุรกิจหรือในเชิงของ user journey ไว ๆ …คำตอบก็คือใช่ ก็ AI gen มาใช้เลย ไม่ต้องเข้าใจก็ได้ ขอแค่กดใช้ได้ตามที่ออกแบบไว้ก็พอ

ถ้าเราอยากจะทำ app เล็ก ๆ ใช้เอง ที่ออกแบบมาเพื่อตัวเองโดยเฉพาะ เช่น “อยากได้ app track รายรับรายจ่าย” …คำตอบก็คือใช่ ก็ gen มาใช้เลย ไม่ต้องเข้าใจก็ได้ ขอแค่ใช้งานได้ หรือต่อบัคก็บัคคนเดียว (แต่อย่างไรก็ตามเมื่อ app ของเราเริ่ม complex ขึ้น เราก็จะเริ่มเข้าใจเองว่า gen AI มันไม่ได้ให้เราได้ทุกอย่างขนาดนั้น)

ในต่างประเทศเริ่มมี trend นึงที่เรียกว่า ”personal software” ที่แบบเราอยากได้อะไรเราก็สามารถบอก AI ให้ “make an app for that!” ได้ — ไว้มีโอกาสมาเล่าเรื่องนี้ต่อทีหลัง

แต่ถ้าเราทำ app ให้คนเป็นหมื่น ๆ แสน ๆ คนใช้ หรือทำระบบอะไรที่มันเป็น core business ของเรา ก็อาจจะต้องถามกลับไปว่า “เรายอมแขวนความเสี่ยงธุรกิจของเราไว้กับ AI ได้หรือป่าว?”

ถ้ามันเขียนโค้ดดีธุรกิจเราก็ไปต่อได้ ถ้ามันเขียนโค้ดพังธุรกิจเราก็พังตามไปด้วย

นอกจากนี้ software มันไม่ใช่แค่เรื่องของ UI หรือ work/ไม่ work แต่มันมีเรื่อง collaboration, resources, business context อื่น ๆ ด้วยเช่น เราจะออกแบบโค้ดยังไงเพื่อให้ทำงานด้วยกันได้ จะออกแบบโค้ดยังไงให้เพิ่มลด feature ได้ไวตาม business strategy, etc. ดังนั้นเราจำเป็นต้อง “เข้าใจโค้ด” หรือ verify ได้ว่าโค้ดที่ gen มามันตอบโจทย์ constraints เหล่านี้

จะเห็นว่าคำถามนึงมันไม่ได้มีคำตอบแค่แบบเดียว แค่ context เปลี่ยนคำตอบก็เปลี่ยนแล้ว

ดังนั้นแทนที่จะมาพยายามหาคำตอบหรือ ultimate answer ว่าคำถามนี้จริงหรือไม่จริง เราว่ามานั่งคุยกันดีกว่าว่า

เราสามารถมองคำถามนี้ใน context ไหนได้บ้าง; คำตอบที่ make sense ในบริบทนั้นคืออะไร; และความแตกต่าง (shade) ของ context เล็ก ๆ น้อย ๆ ส่งผลต่อคำตอบอย่างไร

จริง ๆ เรื่องนี้มีอีกหลายแง่มุมที่น่ามาเล่าและชวนคุย ไว้เดี๋ยวโพสหน้า ๆ จะมาแชร์เพิ่มครับ 😎

Chun Rapeepat

Rapeepat Kaewprasit (Chun)

คน ๆ หนึ่งที่ชื่นชอบในการสร้าง การทำธุรกิจ และการได้ลองทำอะไรใหม่ ๆ ไปเรื่อย ๆ