ถ้าเราอยากจะอ่านบทความสักบทความ เราอยากจะอ่านบทความแบบไหน? - LearnAlgorithm
Indie Hacking
February 24, 2025
|
4 mins read

ถ้าเราอยากจะอ่านบทความสักบทความ เราอยากจะอ่านบทความแบบไหน?

แชร์ design principles ที่ใช้ในการออกแบบ content ในเว็บ LearnAlgorithm

ถ้าเราอยากจะอ่านบทความสักบทความ เราอยากจะอ่านบทความแบบไหน?

ตั้งแต่ทำเพจช่วง feb ปีที่แล้ว ตอนนี้ก็นับว่าเขียนบทความมาครบ 1 ปีเต็มแล้ว โพสนี้เลยอยากมา reflect และแชร์เกี่ยวกับเรื่อง writing บ้าง

เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่อยากเริ่มเขียนหรือทำเพจ

“ถ้าเราอยากจะอ่านบทความสักบทความ เราอยากจะอ่านบทความแบบไหน?”

ถ้าให้เราตอบคำถามนี้ตอนนี้ เราก็คงจะตอบว่า:

  • เล่าเรื่องแบบ question & problem-driven ให้เราได้คิดตามเวลาอ่าน
  • เริ่มจาก the most obvious/simple solution จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มข้อจำกัดของปัญหาและวิธีแก้ที่ซับซ้อนขึ้นไปเรื่อย ๆ
  • อธิบายผ่านรูป มี quiz/interactive ให้สามารถกดเล่นทำความเข้าใจได้
  • project-based มากกว่า lesson-based เรียนรู้ผ่านการสร้างโปรเจค

ใช้ analogy รอบตัวง่าย ๆ ในการอธิบาย, มี ref ดี ๆ ให้ไปอ่านต่อถ้าสนใจในเชิงลึก (และอีกหลาย ๆ ข้อย่อย ๆ)

แน่นอนว่าสิ่งที่เราเขียนนี้มันไม่ใช่รูปแบบที่ดีที่สุดหรอก (และมันคงจะตอบโจทย์กับ content แค่บางประเภทเท่านั้น) แต่มันก็เป็นนิยามและตัวแทนของ content ที่ส่วนตัวเราชอบที่จะอ่าน

สิ่งนี้มันเลยเป็นเหมือนกับ design principles หรือ checklist ที่เราพยายามจะใส่ลงไปในทุก ๆ บทความที่เราเขียน

ถ้าถามว่า list พวกนี้มาจากไหน? จริง ๆ ก็ต้องตอบว่า มันก็มาจากหลาย ๆ blog ที่เป็น inspiration ที่เราชอบตามอ่านเป็นประจำนั่นหละ

  • ciechanow.ski เป็น blog นึงที่ยกเรื่อง tech ในชีวิตประจำวัน มาเล่าเป็นบทความ พร้อมทำ interactive ให้เล่นในเว็บ สามารถกดเล่นทำความเข้าใจได้เลย; อ่านง่าย มี ref ให้ไปศึกษาต่อ
  • andrej karparthy (ex-director @tesla, founding member @openai) เป็นคนนึงที่งานอดิเรกของเขาคือคลิปสอนสร้าง GPT/tokenizer from scratch; เป็น topic ที่ deep มาก แต่เล่าในแบบที่เข้าใจง่าย ใครก็เรียนได้; เริ่มจาก high-level หรือปัญหากว้าง ๆ จากนั้นค่อยเจาะ detail ลงไป
  • a reinforcement learning guide by naklecha ที่ชวนมาศึกษา topic ยาก ๆ ผ่านการทำโปรเจคสนุก ๆ อย่างการ สอน AI เล่นหมากรุก
  • หรือ derek sivers ก็เป็นอีกคนนึงที่สามารถเล่าเรื่องยาก ๆ ให้เข้าใจใน 2-3 นาที (ลองค้นว่า how to make a movement ใน youtube) ผ่าน analogy ง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถ related ได้

(แนะนำให้ไปตามกันทุกคนเลย)

พอเราอ่านแล้วชอบตรงไหนก็ขโมยไอเดียมา (aka. inspiration 😆) หรือบางทีก็ติด style ของบางคนมาโดยไม่รู้ตัว

อย่างไรก็ตาม สุดท้ายมันก็กลับมาที่คำถามที่ว่า “เราชอบอ่าน content แบบไหน?” “ทำไมเราถึงชอบที่จะอ่าน?” และ “เราสามารถเขียน content ในแบบที่เราอยากจะอ่านได้ไหม?”

“write for one person; เขียนให้ตัวเราเองในอดีตเป็นคนอ่าน”

(หรือถ้าสรุปก็คงจะเป็นประโยคนี้จากพี่ทอยเพจ DataRockie; ตอนได้ยินรู้สึกเห็นด้วยมาก ๆ)

จริง ๆ แล้วคำถามนี้เป็นคำถามที่ใช้ได้กับทุกอย่างเลย เช่น “โปรเจคที่เราทำ เป็นโปรเจคที่เราอยากจะใช้เองไหม?” อะไรแบบนี้ (อันนี้เป็นกฏส่วนตัวเวลาทำโปรเจคเลย 55)

เรามองว่าเป็นคำถามที่ง่าย แต่ทรงพลังดี

สุดท้ายใครอ่านมาถึงตรงนี้ กราบบ 🙏 อยากชวนมาแชร์กันว่า ปกติชอบอ่านหรือดู content แบบไหน เพราะอะไร

เผื่อจะเป็นไอเดียสำหรับคนที่อยากเริ่มเขียนกันครับ~

Chun Rapeepat

Rapeepat Kaewprasit (Chun)

คน ๆ หนึ่งที่ชื่นชอบในการสร้าง การทำธุรกิจ และการได้ลองทำอะไรใหม่ ๆ ไปเรื่อย ๆ