เชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยเจอเหตุการณ์ที่คิดไอเดียอะไรใหม่ ๆ ไม่ออก อยากจะเขียนบทความแต่ก็ไม่รู้จะเขียนเล่าออกมายังไง อยากจะออกแบบ product มาแก้ปัญหาอะไรสักอย่างแต่ก็รู้สึกว่าไอเดียมันก็ไม่ได้ใหม่ขนาดนั้น หรืออยากแก้ปัญหาอะไรสักอย่างให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่ก็ยังนึกไม่ออกว่าจะต้องทำยังไง
ไอเดียใหม่ ๆ ที่เรากำลังมองหานี้เรามักเรียกมันว่า “Creativity” นั่นเอง
ในบทความนี้เราอยากมาแชร์หนึ่งในไอเดียที่เรารู้สึกว่ามันช่วยมาก ๆ ในเวลาที่เราคิดอะไรไม่ออกแล้วอยากจะลองหาไอเดียใหม่ ๆ ที่สามารถแก้ปัญหาได้
แต่ก่อนอื่น เราอยากจะมาแชร์นิยามของคำว่า “Creativity” ของเราก่อน
“Creativity is the ability to create new or original ideas that work.”
สำหรับเราแล้ว creative idea มันคือไอเดียที่มีทั้งความ “original” และ “work” หรือพูดง่าย ๆ ก็คือไอเดียที่แปลกใหม่และต้อง แก้ปัญหา ให้เราได้ด้วยนั่นเอง
จากที่ได้เคยคุยกันไปแล้วในบทความ “ปัญหา” คืออะไร? ; วิธีแก้ปัญหาที่ “work” ก็คือวิธีแก้ปัญหาที่เชื่อมจาก actual state ไป desired state และยังอยู่ในกรอบหรือข้อจำกัดที่เราตั้งไว้นั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่นเรา define ปัญหาของเราออกมาว่า “เราพึ่งอกหักมาแล้วอยากจะ express ความรู้สึกหรือเรื่องราวนี้ให้กับคนที่เคยเจอเหตุการณ์คล้าย ๆ กัน” โดยมีข้อจำกัดคือต้องเป็นเพลงเท่านั้น; เราสามารถวาดรูปออกมาได้ดังนี้
จะเห็นว่าเราสามารถแต่งเพลงได้หลายแบบมาก ๆ จากรูปข้างต้น เราอาจจะแต่งเพลงไว แต่งเพลงช้า หรือแต่งเพลงแนว jazz ก็ได้เหมือนกัน; ยิ่งกรอบกว้างมากเท่าไหร่ เส้นทางจาก actual state ไป desired state ก็จะยิ่งเยอะมากขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งมันยากที่เราจะคิดอะไรใหม่ ๆ เมื่อเรามีทางเลือกเยอะไปหมด (แถมเรายังเห็นเส้นทางที่เราสามารถเดินไปได้เป็นตัวชี้นำอยู่แล้วด้วย)
ความน่าสนใจมันอยู่ที่ว่า ถ้าเราลองตีกรอบแบบแปลก ๆ หรือตีกรอบที่แคบขึ้นให้กับปัญหาเราดูหละ? จะเกิดอะไรขึ้น?
แทนที่เราบอกว่าเราจะแค่ “เขียนเพลงอกหัก” ขึ้นมาสักเพลง เราอาจจะลองตั้งโจทย์ว่าเขียน “เพลงอกหัก ที่ใช้คอร์ดแค่ A กับ Dm เท่านั้น เล่าเรื่องผ่านฤดูหนาว สำหรับนักเรียนมัธยมที่เจอเหตุการณ์คล้าย ๆ กันเอาไว้ฟังในวันปัจฉิม”
จะเห็นว่าเส้นที่เส้นทางที่ให้เราเลือกเดินก็จะน้อยลงเลยทันที ยกแคบยิ่งน้อย (หรืออาจจะไม่มีเส้นที่สามารถเดินไปถึงเลยก็ได้) แต่อย่างน้อยมันก็ทำให้เราได้ลองเดินในเส้นทางที่เราไม่คิดจะเดินดู
เพื่อให้เห็นภาพเราขอยกตัวอย่างการตีกรอบในบริบทอื่น ๆ เช่น:
10x result: “เราสามารถขึ้นราคาขายสินค้า 10 เท่าโดยที่ยอดขายจะยังคงเท่าเดิมได้ไหม?” “เราสามารถเขียนบทความแค่ปีละ 1 บทความแต่ยังมีคนอ่านและติดตามเรื่อย ๆ ทั้งปีได้ไหม?” “เราสามารถผลิตสินค้าจำนวนเท่าเดิม และใช้งบเท่าเดิม ในเวลาที่เร็วขึ้น 10 เท่าได้ไหม?”
ตัดสิ่งที่จำเป็นออก: “เราสามารถรันบริษัทด้วยตัวคนเดียวได้ไหม?” “เราสามารถ marketing software ของเราโดยที่ไม่มี website และ social media เลยได้ไหม?” “เราสามารถเขียนโค้ดที่มี time complexity เท่าเดิมโดยใช้ constant space ในการเก็บข้อมูลได้ไหม?”
ทำตรงกันข้าม: “เราสามารถออกแบบพัดลมที่ไม่มีใบพัดเลยได้ไหม?” “เราสามารถทำก๋วยเตี๋ยวที่ไม่มีเส้นก๋วยเตี๋ยวได้ไหม?”
การแก้ปัญหาอะไรให้ได้ดีขึ้น 10 เท่า มันไม่ได้หมายความว่ามันจะยากขึ้น 10 เท่าตามไปด้วย บางทีอาจจะแค่ 2-3 เท่าแค่นั้น เราเรียกสิ่งนี้ว่า “Sublinear scaling of diffculty” อ่านเพิ่มเติม
อาจจะฟังดูเป็นคำถามที่ตลกแต่คำถามเหล่านี้ถ้าตั้งดี ๆ มันให้อะไรกับคนที่ลองเดินไป explore เสมอ ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราถามว่า “เราสามารถขึ้นราคาขายสินค้า 10 เท่าโดยที่ยอดขายจะยังคงเท่าเดิมได้ไหม?” มันอาจจะทำให้เราให้กลับมาคิดเรื่อง branding หรือ value อื่น ๆ นอกจาก function ของสินค้ามากขึ้น
หรือถ้าเราถามว่า “เราสามารถ marketing software ของเราโดยที่ไม่มี website และ social media เลยได้ไหม?” มันอาจจะทำให้เรากลับมา focus เรื่อง word-of-mouth marketing หรือ distribution channel อื่น ๆ มากขึ้น เป็นต้น
จะเห็นว่าคำถามเหล่านี้มันบังคับให้เราต้องเดินไปในเส้นทางใหม่ ๆ; เส้นทางที่เราไม่เคยได้ explore มันมาก่อน เส้นทางที่เราไม่สามารถใช้ solution เดิมที่มีอยู่และบังคับให้เราต้องกลับมาคิดวิธีแก้ปัญหาในตั้งแต่ต้น
“You don’t get lucky if you plan everything.” — Joi Ito
ถ้าคิดอะไรไม่ออก ลองสวมหมวก explorer แล้วลองเดินไปในเส้นทางแปลก ๆ ดูครับ บางทีเราอาจจะได้เจอกับอะไรดี ๆ ที่เราไม่คาดคิดมาก่อนก็ได้